แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
แนวปฏิบัติที่ดี หมายถึง วิธีปฏิบัติหรือขั้นตอนการปฏิบัติที่ทำให้องค์การประสบความสำเร็จหรือนำไปสู่ความเป็นเลิศตามเป้าหมายเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการหรือวิชาชีพนั้นๆ และมีหลักฐานของความสำเร็จปรากฏชัดเจนโดยมีการสรุปวิธีปฏิบัติ หรือขั้นตอนการปฏิบัติ ตลอดจนความรู้และประสบการณ์ที่ได้บันทึกเป็นเอกสารและเผยแพร่ให้หน่วยงานภายในหรือภายนอกสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพที่นำสู่การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
- ต้องกำหนดมาตรฐานการศึกษาและตัวบ่งชี้ของสถานศึกษาให้เรียบร้อยก่อน เริ่มปีการศึกษาใหม่ เพราะการดำเนินการใดๆให้ได้มาตรฐานตามตัวบ่งชี้ต้องมีปัจจัยเรื่องเวลามาเกี่ยวข้องด้วย
- ต้องจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นตามคุณภาพมาตรฐานแบบมีส่วนร่วม
- ต้องจัดระบบการบริหารและสารสนเทศที่มีความชัดเจนและเป็นปัจจุบัน
- ดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัย
- จัดให้มีการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษา
- จัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานของสถานศึกษา
- จัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน
- จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในที่นำสู่การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
- พัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในบัณฑิตวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพ
- มีการควบคุมปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการศึกษาให้มีมาตรฐาน
- ติดตามตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานการควบคุมคุณภาพและปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการศึกษาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
- นำผลการประเมินคุณภาพการศึกษาในด้านต่างๆมาใช้ในการปรับปรุงพัฒนาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
- พัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาให้พร้อมสำหรับการตรวจสอบคุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพโดยหน่วยงานภายนอก
ตัวอย่างการบูรณาการวงจรคุณภาพกับการปฏิบัติงาน
ปฏิทินกิจกรรมการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัยประจำปีการศึกษา 2553
กรอบการดำเนินงาน
|
กิจกรรม
|
ระยะเวลา
|
ผู้รับผิดชอบ
|
Plan |
1.จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพภายในของบัณฑิตวิทยาลัย
|
มิถุนายน 2553
|
คณบดีหรือผู้ที่คณบดีมอบหมาย
|
2.วางแผนการดำเนินงานและจัดทำปฏิทินหรือแผนการดำเนินงานประกันคุณภาพ
|
มิถุนายน – ตุลาคม 2553
|
คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
|
3.ประกาศตัวบ่งชี้ที่ใช้ในการประเมินคุณภาพภายในของบัณฑิตวิทยาลัย
|
มิถุนายน 2553
|
คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
|
4.มอบหมายผู้รับผิดชอบในการพัฒนาคุณภาพในแต่ละตัวบ่งชี้
|
มิถุนายน2553-พฤษภาคม 2554
|
คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
|
5.จัดทำคู่มือการประกันคุณภาพภายในของบัณฑิตวิทยาลัย
|
มิถุนายน2553-
กรกฎาคม
2553
|
คณะกรรมการดำเนินงานประกัน
คุณภาพการศึกษาภายใน
|
Do |
1.ดำเนินการพัฒนาตามระบบ ขั้นตอน และวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ตัวชี้วัดบรรลุผลตามเกณฑ์การประเมิน
|
มีถุนายน2553-พฤษภาคม 2554
|
คณะกรรมการดำเนินงานฯและผู้รับผิดชอบทำงานตามองค์ประกอบและตัวบ่งชี้
|
2.เก็บรวบรวมข้อมูลและบันทึกผลการดำเนินงาน
|
มิถุนายน2553--พฤษภาคม 2554
|
คณะกรรมการดำเนินงานและ
ผู้รับผิดชอบทำงานตามองค์ประกอบและตัวบ่งชี้
|
3.จัดทำ SAR ระดับสาขา
|
ภายในวันที่ 25 พฤษภาคม
2554
|
ประธานสาขา
|
4.จัดทำ SAR ของ บัณฑิตวิทยาลัย
|
ภายในวันที่ 30 พฤษภาคม 2554
|
คณบดีและคณะกรรมการประกันคุณภาพภายในฯ
|
5.บันทึกข้อมูลในระบบ CHE QA Online
|
ภายในวันที่ 30มิถุนายน2554
|
ทีมเลขานุการ
|
Check |
1.ประเมินคุณภาพภายในระดับบัณฑิตวิทยาลัย
|
ภายใน30
กรกฎาคม
2554
|
คณะกรรมการประเมินฯ
|
ทีมเลขานุการ
คณะกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
บัณฑิตวิทยาลัย
พฤษภาคม 2554