คณะบัญชี

       มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่ได้รับอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัย ให้จัดตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2545 โดย นายชวลิต เบ็ญจาธิกุล เป็นผู้รับใบอนุญาตจัดตั้ง โดยได้ตระหนักถึงความสำคัญ และมีความมุ่งมั่นในการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ และมีสถาบันการศึกษาที่ให้การพัฒนาความรู้ และทักษะแก่ประชาชนโดยทั่วไปที่แสวงหาความรู้ คุณวุฒิ และพัฒนาการฝึกปฏิบัติ อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยคณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ได้รับอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัยให้เปิดหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (สาขาวิชาการบัญชี) ในระดับปริญญาตรี ตั้งแต่ปีการศึกษา 2545 จำนวน 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรบริหารธุรกิจ (สาขาวิชาการบัญชี หลักสูตร 4 ปี) และหลักสูตรบริหารธุรกิจ (สาขาวิชาการบัญชี) (หลักสูตร ต่อเนื่อง) ต่อมาในปีการศึกษา 2551 ได้ปรับปรุงหลักสูตรจากเดิม หลักสูตรบริหารธุรกิจ (สาขาวิชาการบัญชี) เป็นหลักสูตรบัญชีบัณฑิต ภายใต้คณะบัญชี เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน และบัณฑิตที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมีแนวทางสอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีที่กล่าวว่า “สร้างปัญญา พัฒนาคน ฝึกฝนคุณธรรม” โดยปฏิบัติภารกิจหลักทั้ง 4 ประการของสถาบันอุดมศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสมบูรณ์ครบถ้วนคือ การจัดการเรียนการสอน การให้บริการวิชาการแก่สังคม งานวิจัย การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ทั้งนี้ คณะบัญชี มุ่งมั่นผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถ ประยุกต์ภาคทฤษฎี นำไปใช้ได้จริงและจรรยาบรรณทางด้านวิชาชีพ

นอกจากนี้ คณะบัญชี ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ สภาพแวดล้อมที่มีหน่วยงานราชการสำคัญหลายหน่วยงาน และหน่วยงานภาคธุรกิจ อาทิเช่น สำนักงานเขตทวีวัฒนา วัดศาลาแดง สถานีตำรวจนครบาลธรรมศาลา สถานีตำรวจนครบาลศาลาแดง ตลาดนัดธนบุรี (สนามหลวง2) อุตสาหกรรมจังหวัดนครปฐม อุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาคร เป็นต้น สามารถให้การสนับสนุนการดำเนินงานตามภารกิจของมหาวิทยาลัยได้อย่างเพียบพร้อม การคมนาคมสะดวกสบาย

ปรัชญา (Philosophy)

เสริมสร้างปัญญา พัฒนาความรู้ คู่จรรยาบรรณ เชี่ยวชาญในวิชาชีพบัญชี”

ปณิธาน (Determination)

มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพบัญชี  สามารถนำความรู้ที่ได้ศึกษาเล่าเรียน มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งมีคุณธรรมตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพบัญชี มุ่งมั่นในทางสร้างสรรค์ความเจริญให้แก่องค์กร สังคม และประเทศชาติเพื่อให้สอดคล้องกับปรัชญาของคณะบัญชีที่ว่า “เสริมสร้างปัญญา พัฒนาความรู้ คู่จรรยาบรรณ เชี่ยวชาญในวิชาชีพบัญชี”

            คณะบัญชีมีปณิธาน มุ่งมั่นที่จะให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานทางด้านบัญชีการบริหารและปฏิบัติ การจัดการเรียนรู้ทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ รวมถึงความรู้ความสามารถทางด้านระบบสารสนเทศที่ทันสมัยต่อวิทยาการสมัยใหม่ รวมถึงปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมที่ดีแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

            ดังนั้น คณะบัญชี จึงมุ่งเน้นให้นักศึกษามีการพัฒนา ให้มีความรู้พื้นฐานทางการศึกษาที่ดี  เพื่อนำไปสู่ความรู้  ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีต่อไป  โดยได้สอดแทรกการสร้างจิตสำนึกทั้งด้านคุณธรรม จริยธรรม การเสียสละ มีความรับผิดชอบที่มีต่อจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพบัญชี  สังคม และประเทศชาติเป็นสำคัญ ตลอดจนการนำความรู้ดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อตอบสนองความต้องการของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ  เอกชน และการมีส่วนร่วมในการสร้างความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจให้แก่สังคมและประเทศอย่างต่อเนื่อง

อัตลักษณ์คณะบัญชี (Identity)

“พัฒนาความรู้ คู่จรรยาบรรณ สู่เส้นทางนักบัญชีมืออาชีพ”

หมายถึง การสร้างความรู้ให้เกิดความเจริญเติบโตงอกงามและดีขึ้น จนเป็นที่พึงพอใจ ควบคู่กับความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้นเพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณ ชื่อเสียง สู่เส้นทางนักบัญชีมืออาชีพ

เอกลักษณ์คณะบัญชี (Uniqueness)

“ซื่อสัตย์ ประหยัด อดทน”

 “ซื่อสัตย์” หมายถึง การแสดงถึงคุณลักษณะทางบวกและคุณธรรม อาทิ ความจริงใจ การตรงไปตรงมา งดเว้นการโกหก การคดโกงและการลักขโมย

“ประหยัด” หมายถึง ใช้จ่ายแต่พอควรแก่ฐานะยึดหลักความพอเพียง

“อดทน”  หมายถึง การห้ามจิตใจเมื่อได้พบกับเหตุการณ์อันจะก่อให้เกิดเรื่องหรือแสดงกิริยาที่ไม่ดีออกมา

 

ข่าวประชาสัมพันธ์ See all >>

− Sep 09,2024 −

โครงการสัมมนาวิชาการเรื่อง “การปิดบัญชีพร้อมจบประเด็นปัญหาภาษี” โดยวิทยากร คุณพัฒนรัตน์ ร่างเล็ก และคุณปัญญาพร นุ่มดี

− read more −
− Sep 09,2024 −

GOODBYE SENIOR PARTY 2024 จัดขึ้นโดยคณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

− read more −
− Jan 21,2024 −

คณะบัญชีขอเชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานสัมมนาวิชาการ การจัดการระบบภาษีในยุคดิจิทัล The epe TAX SYSTEM MANAGEMENT IN THE DIGITAL ERA

− read more −