ความสำคัญของหลักสูตร
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี มุ่งเน้นให้แพทย์ที่จบการศึกษาจากหลักสูตรจะต้องเป็นผู้มีปัญญา มีความรู้ มีทักษะและจิตสำนึกที่ดีต่อการให้บริการสุขภาพแบบองค์รวม ครอบคลุมทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัย การรักษาและการฟื้นฟูสุขภาพของบุคคล ครอบครัว และเวชศาสตร์ชุมชน ยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรมแห่งวิชาชีพ มีความสามารถในการพัฒนาตนเองสู่การศึกษาในระดับสูงที่หลากหลายได้ และสอดคล้องกับพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รวมทั้งสามารถปรับตนเองให้เข้ากับสถานการณ์ในอนาคตได้อย่างเหมาะสม
ปรัชญาของหลักสูตร
คุณธรรมนำความรู้ คู่ความสามารถ ฉลาดพัฒนาตน และชุมชน
ค่านิยม
EKG (Ethic, Knowledge, Generosity)
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อสร้างบัณฑิตแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถ ทักษะ และเจตคติ ไม่น้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภา พ.ศ. ๒๕๕๕ และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา สาขาแพทยศาสตร์ ดังนี้
(๑) มีคุณธรรม จริยธรรมและเจตคติอันดีงามต่อการประกอบวิชาชีพ และสังคม
(๒) มีความรู้ความสามารถ และทักษะพื้นฐานทางด้านพื้นฐานวิชาชีพเวชกรรม โดยสามารถให้บริการสุขภาพแบบองค์รวม ครอบคลุมทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัย การรักษา และการฟื้นฟูสุขภาพของบุคคล ครอบครัวและชุมชน อย่างมืออาชีพ
(๓) มีความสามารถสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ หมายถึงความสามารถในการเลือกใช้การทดสอบทางห้องปฏิบัติการอย่างสมเหตุสมผล ซึ่งรวมถึงการระบุข้อบ่งชี้ การเตรียมผู้ป่วย การจัดเก็บสิ่งส่งตรวจและการแปลผลการตรวจเพื่อการวินิจฉัยและการติดตามผลการรักษา
(๔) มีความสามารถวิเคราะห์ข้อมูลและแก้ปัญหาด้านสุขภาพ ได้อย่างมีเหตุผลตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ครอบคลุมแง่มุมต่าง ๆ แบบองค์รวม
(๕) มีเจตคติที่ดีในการศึกษาต่อเนื่องตลอดเวลา ติดตามความก้าวหน้าของวิทยาการใหม่ ๆ และสามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสมและถูกกาลเทศะ
(๖) มีทักษะในการสื่อสารระหว่างแพทย์ บุคคลากรทางแพทย์ ผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย ผู้อยู่ในวิชาชีพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลทั่วไป กับคนทุกกลุ่มอายุ ทั้งด้านการฟัง พูด เขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และการทำงานเป็นทีม
(๗) มีความสามารถผสมผสานและประยุกต์ความรู้ความสามารถทางวิชาการแพทย์กับวิชาแขนงต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานและการให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชน มีมนุษยสัมพันธ์ดีและสามารถทำงานร่วมกับบุคลากรสาขาวิชาชีพอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(๘) มีทัศนคติเชิงบวก รู้เท่าทันต่อบริบททางสังคม กฎระเบียบ กฎหมาย และนโยบายสาธารณะต่างๆ ที่ควบคุมกำกับการประกอบวิชาชีพเวชกรรมทั้งในปัจจุบันและที่จะมีขึ้นในอนาคต
(๙) มีความสามารถในการวิเคราะห์ผลการวิจัยและดำเนินงานวิจัยพื้นฐานได้อย่างถูกต้องตามระเบียบ วิธีวิจัยที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
(๑๐) เป็นผู้ที่มีความสามารถในการเป็นผู้นำ และชี้นำสังคม
รูปแบบหลักสูตร
ชื่อหลักสูตร
ชื่อเต็มหลักสูตร (ภาษาไทย) : แพทยศาสตรบัณฑิต
ชื่อย่อหลักสูตร (ภาษาไทย) : พ.บ. (แพทยศาสตรบัณฑิต)
ชื่อเต็มหลักสูตร (ภาษาอังกฤษ) : Doctor of Medicine
ชื่อย่อหลักสูตร (ภาษาอังกฤษ) : M.D.
รูปแบบ : หลักสูตรปริญญาตรี ๖ ปี
ภาษาที่ใช้ : ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
การรับเข้าศึกษา:
๑. ผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในประเทศไทย
๒. ผู้สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์จาก
ต่างประเทศ ที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองว่าเทียบเท่า และสามารถใช้ภาษาไทยได้ดี
๓. ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่าในสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ
ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
เป็นหลักสูตรที่มีความร่วมมือกับโรงพยาบาลที่ใช้ในการศึกษาระดับคลินิก ซึ่งประกอบด้วย
๑. คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช วิทยาลัยแพทยศาสตร์ และสำนักวิชาแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ความร่วมมือในลักษณะจัดการสอนรายวิชาในหมวดวิชาเลือกเสรี
๒. โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชน ความร่วมมือในลักษณะจัดการสอนรายวิชาในหมวดวิชาเฉพาะ
๒.๑ โรงพยาบาลร่วมสอน จำนวนทั้งหมด ๓ โรงพยาบาล ดังนี้
๒.๑.๑ โรงพยาบาลหลัก (Teaching hospital)
ได้แก่ โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลขนาดกลาง มีความสามารถในการรับผู้ป่วยในได้ ๒๕๐ เตียง
๒.๑.๒ โรงพยาบาลสมทบ (Affiliated hospital)
ได้แก่ โรงพยาบาลวชิรพยาบาล เป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ มีความสามารถในการรับผู้ป่วยในได้ ๘๗๕ เตียง
โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ เป็นโรงพยาบาลขนาดเล็ก มีความสามารถในการรับผู้ป่วยในได้ ๑๑๐ เตียง
โรงพยาบาลอื่น ๆ ในสังกัดของกรุงเทพมหานคร
๒.๑.๓ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชน (Community hospital)
- ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๐ วัดเจ้าอาม
- ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๐ บางแค
- ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๘ นาควัชระอุทิศ
- ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๗ ทวีวัฒนา
ภายใต้ความร่วมมือ ในการผลิตและการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ กรุงเทพมหานคร กระทรวงมหาดไทย และมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ภายใต้การกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข โดยในการดำเนินการหลักสูตรดังกล่าวทางคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีจะมีคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เป็นที่ปรึกษาและสถาบันพี่เลี้ยง
การจัดการเรียนการสอน
ชั้นปีที่ ๑-๓ จะเรียนรายวิชาระดับตรียมแพทย์และปรีคลินิก (Pre-medicine and Pre-clinic) ณ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
ชั้นปีที่ ๔-๖จะเรียนรายวิชาระดับคลินิก (Clinic) ณ โรงพยาบาลร่วมผลิตแพทย์
ผู้รับผิดชอบหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต
1. ศาสตราจารย์นายแพทย์ สารเนตร์ ไวคกุล พบ., วว. (สาขา ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์)
2. ศาสตราจารย์นายแพทย์ ทศศาสตร์ หาญรุ่งโรจน์ พบ., วว. (สาขา ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์)
3. ศาตราจารย์ ดร.แพทย์หญิง ธนวรรณ กุมมาลือ พบ., วว. (สาขา อายุรศาสตร์โรคเลือด)
4. ศาสตราจารย์นายแพทย์ อาทิ เครือวิทย์ พบ., วว. (สาขา ศัลยศาสตร์ตกแต่ง)
5. รองศาสตราจารย์นายแพทย เกียรติ วิฑูรชาติ พบ., วว. (สาขา ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์)
รายนามผู้บริหารคณะแพทยศาสตร์
คณบดี ศาสตราจารย์นายแพทย์ สารเนตร์ ไวคกุล
รองคณบดี รองศาสตราจารย์นายแพทย์ เกียรติ วิฑูรชาติ
รองคณบดีฝ่ายวิจัย ศาสตราจารย์นายแพทย์ ทศศาสตร์ หาญรุ่งโรจน์
รองคณบดีฝ่ายวิชาการและแพทยศาสตร์ศึกษา ศาตราจารย์ ดร.แพทย์หญิง ธนวรรณ กุมมาลือ
รองคณบดีฝ่ายประกันคุณภาพ ศาสตราจารย์นายแพทย์ สารเนตร์ ไวคกุล
รองคณบดีฝ่ายบริหารและการคลัง ดร. ณัฐวรรณ สาสิงห์
รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา ศาสตราจารย์นายแพทย์ สารเนตร์ ไวคกุล
รายนามคณาจารย์คณะแพทยศาสตร์
กลุ่มวิทยาศาสตร์การแพทย์
- กลุ่มวิชาฟิสิกส์
อาจารย์ปฐมพร จันทร์บาง
อาจารย์พิพัฒน์พล ธัญมณีเลิศสกุล
- กลุ่มวิชาเคมี
อาจารย์ ดร. ธิติยา มีชัย
อาจารย์ ดร. พิชญ์ชาญ ศรีเจริญ
อาจารย์ ดร. พีระพงษ์ ชุมแก้ว
- กลุ่มวิชาชีววิทยา
อาจารย์ ดร. ณัฏฐิกา ตรีธัญญา
อาจารย์ ดร. รนิดา ต่วนอุดม
อาจารย์ ดร. วิกานดา ตันติรักษ์
กลุ่มวิชาพรีคลินิก
- กลุ่มวิชากายวิภาคศาสตร์
อาจารย์นพ. ณัฐ เธียรสุคนธ์
- กลุ่มวิชาสรีรวิทยา
อาจารย์กาญจนา สุขศรี
อาจารย์ลลิตา หงษ์เหิรสถิตย์
อาจารย์จิรวัฒน์ พาทา
- กลุ่มวิชาชีวเคมี
อาจารย์ ดร. สุวัฒนา วิเศษนันท์
อาจารย์ ดร. อรวรรณ บุญยะแต่ง
- กลุ่มวิชาจุลชีววิทยา ปรสิตวิทยา และภูมิคุ้มกัน
อาจารย์ ดร. ทนพ. วรโชติ บุญศรีวงศ์
อาจารย์ ดร. อาทิตยา ญาติสมบูรณ์
อาจารย์ ปริญญาภา นาจอมเทียน
- กลุ่มวิชาพยาธิ
ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์ เจนมโนนุกูล(อาจารย์พิเศษ)
ศาสตราจารย์นายแพทย์ นิธิ จงจิตรนันท์ (อาจารย์พิเศษ)
- กลุ่มวิชาเภสัชวิทยา
รองศาสตราจารย์ ดร. ทรงศักดิ์ ศรีอนุชาติ