คณะวิศวกรรมศาสตร์

ปริญญาตรี หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

        สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้ดำเนินการตามแนวนโยบายของรัฐบาลและมหาวิทยาลัย ในการเพิ่มศักยภาพด้านการพัฒนาบุคลากรให้มีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อให้เพียงพอต่อการรองรับการพัฒนาประเทศชาติในอนาคต นอกจากนี้ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้จัดการพัฒนาบุคลากรด้านต่างๆ ที่พึงมีต่อประเทศชาติด้วย จึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ ปรัชญา และวัตถุประสงค์ขึ้นเพื่อให้เป็นทิศทางในการบริหารจัดการคณะวิศวกรรมศาสตร์

ปรัชญา

        เพื่อผลิตบัณฑิตทางวิศวกรรมไฟฟ้ากำลังในระดับปริญญาตรีที่มีคุณภาพและคุณธรรม มีความสามารถในการทำงานวิจัย พัฒนา ควบคุมในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าเฉพาะด้าน อันได้แก่ การออกแบบระบบไฟฟ้า การวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า หุ่นยนต์และระบบการป้อนกลับอัตโนมัติ นอกจากนี้บัณฑิตยังสามารถประกอบอาชีพวิศวกรร่วมกับวิศวกรและนักวิทยาศาสตร์ในสาขาอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งความสามารถเหล่านี้สามารถตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรม หน่วยวิจัยและพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างยั่งยืน

ความสำคัญ

       เป็นหลักสูตรที่ผลิตบัณฑิตในสาขาที่อุตสาหกรรมมีความต้องการอย่างมาก เพราะเป็นสาขาวิศวกรรมที่สามารถรองรับการทำงานในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ

 

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณธรรม จริยธรรม ความมีระเบียบวินัยและจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม และมีจรรยาบรรณ ทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ

2. เพื่อผลิตวิศวกรไฟฟ้าระดับปริญญาตรีที่มีความรู้ มีทักษะ และสามารถปฏิบัติงานได้ทันทีเพื่อตอบสนองความต้องการของหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน

3. เพื่อส่งเสริมให้บัณฑิตสามารถคิด วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าในการแก้ปัญหาที่ค่อนข้างซับซ้อน และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์

4. เพื่อผลิตวิศวกรไฟฟ้าที่มีความสามารถพิเศษเข้าปฏิบัติงานในระบบไฟฟ้ากำลัง ระบบการวัดและควบคุม และเทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้า โดยมีพื้นฐานในด้านการออกแบบ วิจัยและพัฒนา ทั้งสามารถเสนอข้อมูลที่เกี่ยวกับการดำเนินการออกแบบ ติดตั้งและทดสอบได้

5.  เพื่อส่งเสริมให้บัณฑิตมีความพร้อมที่จะศึกษาในระดับที่สูงขึ้นต่อไป

 

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

บัณฑิตวิศวกรรมศาสตร์สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วสามารถประกอบวิชาชีพได้อย่างกว้างขวาง หรือ งานราชการ รัฐวิสาหกิจ อุตสาหกรรมธุรกิจ และงานวิจัยต่าง ๆ เช่น

1. วิศวกรในระบบราชการ  ได้แก่ การเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย และวิทยาลัย ตลอดจนถึงการเป็นวิศวกรประจำกรม กองของกระทรวงต่าง ๆ เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นต้น

2. วิศวกรในระบบรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ การเป็นวิศวกรในการไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้านครหลวงการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค องค์การโทรศัพท์ ศูนย์โทรคมนาคมต่าง ๆ และโรงงานอุตสาหกรรมบางอย่างที่รัฐดำเนินการ เป็นต้น

3. วิศวกรในระบบอุตสาหกรรมและธุรกิจ ได้แก่ วิศวกรประจำโรงงานที่ผลิตอุปกรณ์ หรือสิ่งประดิษฐ์ทาง ไฟฟ้า และเป็นวิศวกรประจำบริษัทที่รับปรึกษาปัญหาทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า บริษัทผลิตไฟฟ้า และเป็นผู้ประกอบการ เป็นต้น