คณะนิติศาสตร์

ปริญญาตรี หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์

สาขานิติศาสตร์

ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

ปรัชญา

            “ วิชาชีพมั่นคง ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม สร้างความยุติธรรมให้แก่สังคม ”

ความสำคัญ

            คณะนิติศาสตร์มุ่งมั่นที่จะให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพกฎหมายอย่างมีความรับผิดชอบ  สามารถนำไปปรับใช้ในการช่วยเหลือประชาชนและสังคมส่วนรวม  ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต  มีจรรยาบรรณของการเป็นนักกฎหมายที่ดี  และปลูกฝังจิตสำนึกของคุณธรรมจริยธรรมให้แก่นักศึกษา  ดังนั้นรายวิชาที่เปิดสอนจึงมุ่งเน้นเพิ่มพูนความรู้ทางการศึกษาที่ดีให้แก่นักศึกษา  เพื่อนำไปศึกษาต่อระดับสูงกว่าและมีความรับผิดชอบต่อจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพและต่อสังคม  ที่จะนำความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาไปเพื่อตอบสนองความต้องการในหน่วยงานทางภาครัฐและเอกชน

 

ความสำคัญของหลักสูตร

  หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต  หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556   จะได้ดำเนินการเปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2556   เป็นหลักสูตรที่มีนักศึกษานิยมเข้าศึกษาเป็นจำนวนมาก  และเมื่อสำเร็จการศึกษาสามารถทำงานได้ทั้งในภาครัฐและเอกชน  ดังนั้น  การปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสมสอดคล้องกับความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการและการเปลี่ยนแปลงต่างๆ  ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงานทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนนำความรู้ไปใช้พัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติอย่างเหมาะสมต่อไป

 

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย ทั้งในทางทฤษฎีและทางปฎิบัติ

2. เพื่อให้บัณฑิตนำความรู้ความเข้าใจไปประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย  โดยเน้นการมีคุณธรรม จริยธรรม ประพฤติตนอยู่ในกรอบ จรรยาบรรณ  และความรับผิดชอบต่อวิชาชีพของนักกฎหมายที่ดี

3. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีจิตสำนึกและมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

4. เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้และศักยภาพในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

5. เพื่อให้ผลิตบัณฑิตให้เป็นนักปฏิบัติมืออาชีพโดยให้มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และประเทศชาติ

 

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1)  ผู้พิพากษา *

2)  อัยการ *

3)  ตำรวจ / ทหาร / นายทหารรัฐธรรมนูญ      

4)  นิติกรภาครัฐและเอกชน

5)  ทนายความ     

6) ที่ปรึกษาด้านกฎหมายบริษัทเอกชน

                หมายเหตุ * ต้องจบจากสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา