คุณสมบัตรผู้สมัคร
- มีพื้นฐานความรู้ขั้นต่ำ ม.3 ขึ้นไปหรือเทียบเท่า
- มีระดับวุฒิภาวะเหมาะสม
- มีอายุไม่ต่ำกว่า 18ปี บริบูรณ์
- มีสุขภาพสมบูรณ์ ไม่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพ
เอกสารในการรับสมัคร
- วุฒิการศึกษา ม.3 ขึ้นไปหรือเทียบเท่า
- รูปถ่ายสี หน้าตรง 1นิ้ว จำนวน 2รูป
- สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชน 2 ชุด
รูปแบบของหลักสูตร
หลักสูตรการฝึกอบรม
จำนวนชั่วโมงที่เรียนตลอดหลักสูตร
การเรียนภาคทฤษฏี 270 ชั่วโมง
การเรียนภาคปฏิบัติ 180 ชั่วโมง
สวัสดิการฟรี
- หอพัก3เดือน
- เอกสารประกอบการเรียน
- เสื้อยืดโปโล 2 ตัว
- เครื่องแบบฝึกงาน 2 ชุด
วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีสมรรถนะในการดูแลผู้สูงอายุ ดังนี้
- มีความรู้การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรผู้สูงอายุ สถานะสุขภาพของผู้สูงอายุและตระหนักถึงความจำเป็นในการดูแลผู้สูงอายุ
- มีความรู้ ความเข้าใจแนวคิดและทฤษฎีผู้สูงอายุกระบวนการชรา
- มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่พบบ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ อาการ พฤติกรรมเสี่ยง การป้องกันและการปฏิบัติตัวในการส่งเสริมสุขภาพ สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้อง
- มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดุแลช่วยเหลือผู้สูงอายุเบื้องต้น รวมทั้งให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นแก่ผู้สูงอายุที่มีภาวะวิกฤตได้
- สามารถดูแลช่วยเหลือการใช้ยาในผู้สูงอายุตามคำสั่งของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้อย่างถูกต้อง
- มีความรู้ ความเข้าใจในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุรวมทั้งเรื่องโภชนาการ การออกกำลังกาย การจัดนันทนาการ สามารถนำไปใช้ในการดูแลผู้สูงอายุในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง
สถานการณ์ด้านประชากร
ปรากฏการณ์ในศตวรรษที่ 21 ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างสมบูรณ์(Agedsiciety)ซึ่งหมายถึงมีจำนวนประชากรอายุ 60ปี ขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 20 และคาดว่าในอนาคตอันใกล้นี้ไม่เกิน 10ปี จะเป็นสังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มที่หรือสังคมสูงวัยระดับสุดยอด(Super aged society) จากสถานการณ์ผู้สูงอายุ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก ส่งผลกระทบทางด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม โดยรวม ประกอบกับโครงสร้างครอบครัวในปัจจุบันได้เปลี่ยนไป เป็นครอบครัวเดี่ยว สมาชิกในครอบครัวต้องทำงานนอกบ้าน ผู้สูงอายุขาดผู้ดูแล ทำให้ความต้องการของผู้ดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น เพื่อรองรับสภาพสถานการณ์ และปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาและความต้องการดังกล่าว จึงได้ดำเนินการจัดโครงการฝึกอบรม ”การดูแลผู้สูงอายุ” ขึ้นเพื่อเตรียมบุคลากรที่มีศักยภาพ ให้เป็นผู้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีประสบการณ์เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ สามารถนำความรู้และทักษะที่ได้รับจากการฝึกอบรมทั้งด้านทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จริง ไปประยุกต์ใช้ในการดูและสุขภาพของผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป