หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต
หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2553
มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
------------------------------
1. ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต
ภาษาอังกฤษ Doctor of Business Administration Program
2. ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) บธ.ด.
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) Doctor of Business Administration
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) D.B.A.
3. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
4. ปรัชญา หลักการและเหตุผล และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
4.1 ปรัชญา
สร้างนักบริหาร ยึดมั่นคุณธรรม สร้างสรรปัญญา พัฒนาก้าวไกล
4.2 หลักการและเหตุผล
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติทุกฉบับต่างมุ่งเน้นความสำคัญของการศึกษาที่จะช่วยพัฒนาประชากรให้มีความรู้ความสามารถโดยเฉพาะด้านบริหารธุรกิจ ซึ่งเกี่ยวกับองค์ความรู้ต่างๆที่มีประโยชน์ ต่อการนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารธุรกิจ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารการพัฒนาประเทศโดยรวม ทั้งนี้ต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาของชาติ
ในการพัฒนาบุคลากรทางวิชาการผู้บริหารที่มีองค์ความรู้ และความสามารถระดับสูงในการแสวงหาความรู้ใหม่ๆ อยู่เสมอ ทั้งนี้โดยยึดมั่นคุณธรรมจริยธรรมที่เหมาะสม
4.3 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
4.3.1 เพื่อผลิตผู้บริหาร และนักวิชาการ ที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีวิสัยทัศน์กว้างไกล และมีความสามารถในการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ ใหม่ที่ได้จากการค้นคว้า วิจัย ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการบริหารกิจการ
4.3.2 เพื่อมุ่งสร้างสรรค์ และผลิตดุษฎีบัณฑิตให้มีความรู้ทางวิชาการ และความสามารถ ในการแสวงหาความรู้ใหม่ ด้วยวิธีการศึกษา และการวิจัยขั้นสูงได้ด้วยตนเอง
4.3.3 สามารถใช้ความเข้าใจอันถ่องแท้ในทฤษฎีและเทคนิคการแสวงหาความรู้ในการวิเคราะห์ประเด็นและปัญหาสำคัญได้อย่างสร้างสรรค์ และพัฒนาแนวทางการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการใหม่ ๆ
4.3.4 มีความสามารถแสดงออกอย่างสม่ำเสมอในการดำเนินกิจกรรมทางวิชาการและอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพและรับผิดชอบอย่างเต็มที่ในกิจกรรมของตนเอง
4.3.5 สามารถนำองค์ความรู้ด้านทักษะวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนางานของตนได้อย่างเหมาะสม
5. กำหนดการเปิดสอน
ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2553
6. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่าทุกสาขา จากสถาบันอุดมศึกษา ทั้งในประเทศ และต่างประเทศที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ด้วยคะแนนเฉลี่ย 3.00 จากระบบ 4.00 หรือเทียบเท่าโดยมีรายละเอียดดังนี้
6.1 แบบ 1 แผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยมีการทำดุษฎีนิพนธ์ที่ก่อให้เกิดความรู้ใหม่
6.1.1 แบบ 1.1
1) รับสมัครผู้สมัครที่ทำงานในสายวิชาการหรือสายบริหาร เช่น อาจารย์ นักวิชาการนักบริหาร หรือนักวิจัยในมหาวิทยาลัย หรือสถาบันทางวิชาการอื่นๆ ที่ทำการสอนในระดับปริญญาตรีขึ้นไป หรือทำการวิจัยและมีผลงานวิจัยเป็นที่ยอมรับ โดยต้องมีประสบการณ์การทำงานไม่ต่ำกว่า 3 ปี
2) มีหนังสือรับรองว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะศึกษาในระดับดุษฎีบัณฑิตจากอาจารย์ที่เคยสอนในระดับบัณฑิตหรือมหาบัณฑิต หรืออาจารย์ที่ปรึกษา หรือผู้บังคับบัญชา จำนวนไม่น้อยกว่า 2 คน
3) สามารถอุทิศเวลาให้กับการศึกษาค้นคว้าได้เต็มเวลาจนสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
6.2 แบบ 2 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยมีการทำดุษฎีนิพนธ์ที่มีคุณภาพสูงก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการ และวิชาชีพและศึกษางานรายวิชาเพิ่มเติม
6.2.1 แบบ 2.1
1) รับสมัครจากผู้ที่เคยมีประสบการณ์ทำงานแล้วและมีใบรับรองการทำงานอย่างน้อย 3 ปี
2) มีหนังสือรับรองว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะศึกษาในระดับดุษฎีบัณฑิตจากอาจารย์ที่เคยสอนในระดับบัณฑิตหรือมหาบัณฑิต หรืออาจารย์ที่ปรึกษา หรือผู้บังคับบัญชา จำนวนไม่น้อยกว่า 2 คน
3) สามารถอุทิศเวลาให้กับการศึกษาค้นคว้าได้เต็มเวลาจนสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
กรณีผู้มีคุณสมบัติแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ข้างต้นอาจมีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษาได้ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณบดีคณะบริหารธุรกิจ
7. การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา
7.1 พิจารณาจากผลการศึกษาระดับปริญญาตรี และปริญญาโท หนังสือรับรองประสบการณ์หรือการทำงาน
7.2 พิจารณาจากผลการสอบสัมภาษณ์
8. ระบบการศึกษา
8.1. ระบบการศึกษาใช้ระบบทวิภาค (Semester)โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษามีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ สำหรับภาคการศึกษาฤดูร้อนมหาวิทยาลัย ฯจะกำหนดระยะเวลาและจำนวนหน่วยกิต โดยมีสัดส่วนเทียบเคียงกันได้กับการศึกษาภาคปกติ
8.2 การคิดหน่วยกิต
1) รายวิชาภาคทฤษฎี ที่ใช้เวลาบรรยายหรืออภิปรายปัญหาไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต ระบบทวิภาค
2) รายวิชาภาคปฏิบัติ ที่ใช้เวลาฝึกหรือทดลองไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต ระบบทวิภาค
3) การฝึกงานหรือการฝึกภาคสนามที่ใช้เวลาฝึกไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต ระบบทวิภาค
4) การทำโครงงานหรือกิจกรรมการเรียนอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมายที่ใช้เวลาทำโครงงานหรือกิจกรรมนั้นไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ 1หน่วยกิต ระบบทวิภาค
5) การศึกษาค้นคว้าอิสระ ที่ใช้เวลาศึกษาค้นคว้าไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต ระบบทวิภาค
6) ดุษฎีนิพนธ์ที่ใช้เวลาศึกษาค้นคว้าไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต ระบบทวิภาค
9. ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตร
ใช้ระยะเวลาในการศึกษาไม่เกิน 6 ปีการศึกษา นับแต่วันขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา
10. การลงทะเบียนเรียน
การลงทะเบียนเรียนตามกระบวนวิชาในแต่ละภาคการศึกษา นักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนไม่เกิน 12 หน่วยกิต ในภาคการศึกษาปกติ กรณีที่นักศึกษาขอลงทะเบียนเรียนเกินกว่าที่กำหนด คณบดีหรือผู้ซึ่งคณบดี มอบหมายอาจอนุมัติให้ลงทะเบียนเรียนได้ แต่ทั้งนี้ไม่กระทบต่อคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา
10.1 นักศึกษาต้องลงทะเบียนตามวัน เวลา และสถานที่ ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
10.2 การลงทะเบียนแต่ละรายวิชานักศึกษาต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา
10.3 นักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาในแต่ละภาคการศึกษาปกติ ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต และไม่เกิน 12 หน่วยกิต สำหรับภาคฤดูร้อนต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาได้ไม่เกิน 6 หน่วยกิตการลงทะเบียนเรียนน้อยกว่าหรือมากกว่าที่กำหนดไว้ อาจกระทำได้โดยต้องได้รับอนุมัติจากอาจารย์ที่ปรึกษา
10.4 นักศึกษาจะลงทะเบียนเรียนซ้ำได้เฉพาะรายวิชาที่มีผลการเรียนต่ำกว่า B
10.5 การลงทะเบียนเรียนจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้ชำระค่าบำรุงและค่าธรรมเนียมเรียบร้อยแล้ว ในกรณีที่มีการลงทะเบียนล่าช้ากว่าที่มหาวิทยาลัยกำหนด นักศึกษาจะต้องเสียค่าปรับตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
10.6 การขอเพิ่ม หรือถอนรายวิชา ที่ลงทะเบียนเรียนแล้วให้เป็นไปตามข้อบังคับที่มหาวิทยาลัยกำหนด ทั้งนี้จะต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา
11. การวัดและประเมินผลการศึกษาและเกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
การวัดและประเมินผลการศึกษาและการสำเร็จการศึกษาเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี โดยนักศึกษาจะสำเร็จการศึกษาและได้รับปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต หลังจากได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
11.1 การวัดและประเมินผลการศึกษา
11.1.1 การมีสิทธิ์เข้าสอบนักศึกษาต้องร่วมกิจกรรมการเรียนในรายวิชาหนึ่งๆไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของกิจกรรม จึงมีสิทธิ์เข้าสอบในรายวิชานั้น
11.1.2 ระบบการให้คะแนนการเรียนรายวิชา
การให้คะแนนด้วยระบบค่าระดับคะแนนแบ่งเป็น 6 ระดับดังนี้
ระดับคะแนน ความหมาย ค่าระดับคะแนน
A ดีเยี่ยม (Excellent) 4.0
B+ ดีมาก (Very Good) 3.5
B ดี (Good) 3.0
C+ ค่อนข้างดี (Fairly Good) 2.5
C พอใช้ (Fair) 2.0
D+ อ่อน (Poor) 1.5
D อ่อนมาก (Very Poor) 1.0
F ตก (Fail) 0.0
การประเมินรายวิชาที่เรียนตามหลักสูตรค่าระดับคะแนนที่ถือว่าสอบได้ต้องไม่ต่ำกว่า 3.00
11.1.3 การให้คะแนนด้วยระบบไม่มีค่าระดับคะแนน
การประเมินผลรายวิชาเสริมพื้นฐาน ที่เรียนโดยไม่นับหน่วยกิต และการสอบประมวลความรู้ข้อเขียนให้กระทำดังนี้
ผลการประเมิน ความหมาย
P ผ่าน (Pass)
F ไม่ผ่าน (Fail )
การประเมินดุษฎีนิพนธ์ และวิชาการศึกษาค้นคว้าอิสระ ให้กระทำดังนี้
( 1 ) การประเมินดุษฎีนิพนธ์ ที่แบ่งหน่วยกิต ลงทะเบียน และการสอบ
เค้าโครงดุษฎีนิพนธ์
ผลการประเมิน ความหมาย
S พอใจ (Satisfactory)
U ไม่พอใจ (Unsatisfactory)
( 2 ) การสอบดุษฎีนิพนธ์ และการประเมินดุษฎีนิพนธ์ทั้งฉบับ
ผลการประเมิน ความหมาย
Excellent ดีเยี่ยม
Good ดี
Pass ผ่าน
Fail ตก
( 3 ) การประเมินรายวิชาอื่นๆ
ผลการประเมิน ความหมาย
I การประเมินที่ไม่สมบูรณ์ (Incomplete )
W การถอนรายวิชาที่ลงทะเบียนโดยได้รับการ
อนุมัติ(Withdrawal)
AU การลงทะเบียนเพื่อร่วมฟังโดยไม่นับ
หน่วยกิต (Audit)
11.1.4 การให้ F ให้กระทำได้ในกรณีต่อไปนี้
( 1 ) นักศึกษาขาดสอบประจำภาคเรียนโดยไม่ได้รับอนุมัติ
( 2 ) นักศึกษาที่เวลาเรียนไม่ครบตามเกณฑ์ในข้อ 11.1.1
( 3 ) นักศึกษาทุจริตในการสอบ
( 4 ) นักศึกษาที่ได้รับคะแนน I แต่มิได้ดำเนินการขอประเมินผลเพื่อแก้ระดับคะแนน I ให้เสร็จสิ้นภายในภาคเรียนถัดไปที่นักศึกษามีสิทธิ์ลงทะเบียน
11.1.5 การให้ I ในรายวิชาใดให้กระทำได้ในกรณีต่อไปนี้
อาจารย์ผู้สอนเห็นสมควรให้รอผลการศึกษาเพราะนักศึกษายังปฏิบัติงานซึ่งเป็นส่วนประกอบการศึกษารายวิชานั้นยังไม่สมบูรณ์ นักศึกษาที่ได้รับคะแนน I จะต้องดำเนินการขอรับประเมินผล เพื่อเปลี่ยนระดับ I ให้เสร็จสิ้นภายในภาคการเรียนถัดไป ทั้งภาคปกติ และภาคฤดูร้อน ที่นักศึกษามีสิทธิ์ลงทะเบียนเรียน หากพ้นกำหนดดังกล่าวมหาวิทยาลัยจะเปลี่ยนระดับคะแนน I เป็น F โดยอัตโนมัติ (ยกเว้นดุษฎีนิพนธ์)
11.1.6 การให้ W ในรายวิชาใดให้กระทำได้ในกรณีต่อไปนี้
1 ) นักศึกษาได้รับอนุมัติให้ถอนการเรียนรายวิชานั้น
2 ) นักศึกษาได้รับอนุมัติให้ลาพักการเรียน
3 ) นักศึกษาถูกสั่งพักการเรียนในภาคเรียนนั้น
11.1.7 การให้ AU ในรายวิชาใดให้กระทำได้ในกรณีที่นักศึกษาได้รับอนุมัติให้ลงทะเบียน เพื่อร่วมฟังโดยไม่นับหน่วยกิต
11.1.8 การนับจำนวนหน่วยกิต และการคำนวณหาค่าระดับคะแนน
1) การนับจำนวนหน่วยกิตเพื่อใช้ในการคำนวณหาค่าระดับคะแนนให้นับจากรายวิชาที่มีการประเมินผลการศึกษาที่มีค่าระดับคะแนน
2) การนับจำนวนหน่วยกิตสะสม เพื่อให้ครบตามจำนวนที่กำหนดในหลักสูตร ให้นับเฉพาะหน่วยกิตของรายวิชาที่สอบได้เท่านั้น
3) ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยรายภาคเรียน ให้คำนวณจากผลการเรียนของนักศึกษา ในภาคเรียนนั้น โดยเอาผลรวมของผลคูณระหว่างจำนวนหน่วยกิตกับค่าระดับคะแนนของแต่ละวิชาเป็นตัวตั้ง หารด้วยจำนวนหน่วยกิต ของภาคเรียนนั้น โดยใช้ทศนิยม 2 ตำแหน่ง ไม่ปัดเศษ
4 ) ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม ให้คำนวณจากผลการเรียนของนักศึกษาตั้งแต่เริ่มเข้าเรียนจนถึงภาคเรียนสุดท้าย โดยเอาผลรวมของผลคูณระหว่าง จำนวนหน่วยกิต กับระดับค่าคะแนนของแต่ละวิชาที่เรียนทั้งหมดเป็นตัวตั้งหารด้วยจำนวนหน่วยกิตที่มีค่าระดับคะแนน
สำหรับในภาคเรียนที่นักศึกษาได้ I ให้คำนวณ ค่าระดับ คะแนนเฉลี่ยรายภาคเรียนนั้น โดยนับเฉพาะรายวิชาที่ไม่ได้ I เท่านั้น
11.2 การสำเร็จการศึกษา
11.2.1 แบบ 1.1
1 ) สอบผ่านภาษาอังกฤษตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่มหาวิทยาลัยฯ กำหนด คือ มีผลการสอบ TOEFL ไม่ต่ำกว่า 500 หรือ IELTS = 5.5 หรือ ผลการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษที่เทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาอื่น ๆ เช่น CU TEP = 60 หรือจากสถาบันอื่นๆตามที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ กำหนด ทั้งนี้ ผลการสอบทุกประเภทต้องมีอายุไม่เกิน 3 ปี กรณีที่แตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ข้างต้นให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
2) สอบผ่านการวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) ครบถ้วนเพื่อเป็นผู้มีสิทธิขอทำดุษฎีนิพนธ์
3) เสนอดุษฎีนิพนธ์
4) สอบผ่านการสอบปากเปล่า ขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ฯ
5) ผลงานดุษฎีนิพนธ์จะต้องรับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยดำเนินการให้ผลงานหรือส่วนหนึ่งของผลงานได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการที่มีกรรมการภายนอกมาร่วมกลั่นกรอง (Peer Review) ก่อนการตีพิมพ์และเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ หรือ สาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
6) มีระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตรไม่เกิน 6 ปี สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท ทั้งนี้นับแต่วันขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา
11.2.2 แบบ 2.1
1) ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร และได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนน
2) สอบผ่านภาษาอังกฤษตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่มหาวิทยาลัยฯ กำหนด คือ มีผลการสอบ TOEFL ไม่ต่ำกว่า 500 หรือ IELTS = 5.5 หรือ ผลการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษที่เทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาอื่น ๆ เช่น CU TEP = 60 หรือ จากสถาบันอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการหลักสูตรฯ กำหนด ทั้งนี้ผลการสอบทุกประเภทต้องมีอายุไม่เกิน 3 ปี กรณีที่แตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ข้างต้นให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
3) สอบผ่านการวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) ครบถ้วนเพื่อเป็นผู้มีสิทธิขอทำดุษฎีนิพนธ์
4) เสนอดุษฎีนิพนธ์
5) สอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ฯ
6) ผลงานดุษฎีนิพนธ์จะต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยดำเนินการให้ผลงานหรือส่วนหนึ่งของผลงานได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการที่มีกรรมการภายนอกมาร่วมกลั่นกรอง (Peer Review) ก่อนการตีพิมพ์และเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชาวิชาบริหารธุรกิจ หรือ สาขาวิชาที่เกี่ยวข้อ
17.2 โครงสร้างหลักสูตร
หมวดวิชา
|
จำนวนหน่วยกิต
|
แบบ 1.1
|
แบบ 2.1
|
1. หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน (Remedial Course) |
ไม่นับหน่วยกิต
|
ไม่นับหน่วยกิต
|
2. หมวดวิชาบังคับ (Core Courses) |
-
|
12 หน่วยกิต
|
3. หมวดวิชาเลือก (Elective Course) |
-
|
12 หน่วยกิต
|
4. สอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) |
|
|
5. ดุษฎีนิพนธ์ (Dissertation) |
ตลอดหลักสูตร 60 หน่วยกิต
|
ตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต
|
รวม
|
ตลอดหลักสูตร 60 หน่วยกิต
|
ตลอดหลักสูตร 60 หน่วยกิต
|
17.2.1 รหัสวิชา ประกอบด้วยตัวอักษรและตัวเลข มีความหมายดังนี้
DBA หมายถึงวิชาของหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต
เลขตัวที่ 1 เลข 8 หมายถึง กลุ่มวิชาเสริมพื้นฐาน
เลขตัวที่ 1 เลข 9 หมายถึง วิชาของหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต
เลขตัวที่ 2 เลข 1 หมายถึง หมวดวิชาบังคับ
เลขตัวที่ 2 เลข 2 หมายถึง หมวดวิชาเลือก
เลขตัวที่ 2 เลข 3 หมายถึง หมวดวิชาดุษฎีนิพนธ์
เลขตัวที่ 3 – 4 หมายถึง ลำดับวิชา


