ชื่อภาษาไทย : หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต
ชื่อภาษาอังกฤษ : Doctor of Public Administration Program
ชื่อภาษาไทย : รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต
ชื่อย่อภาษาไทย : รป.ด.
ชื่อภาษาอังกฤษ : Doctor of Public Administration
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ : D. P. A.
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่าสาขาใดก็ได้ จากสถาบันอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสำนักงาน ก.พ. ด้วยคะแนนเฉลี่ย 3.00 จากระบบ 4.00 หรือเทียบเท่า โดยมีรายละเอียดดังนี้
แบบ 1 แผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยมีการทำดุษฎีนิพนธ์ที่ก่อให้เกิดความรู้ใหม่
แบบ 1.1
1) รับสมัครผู้สมัครที่ทำงานในสายวิชาการหรือสายบริหาร เช่น อาจารย์ นักวิชาการ นักบริหาร หรือนักวิจัยใน
วิทยาลัย หรือสถาบันทางวิชาการอื่นๆ ที่ทำการสอนในระดับปริญญาตรีขึ้นไป หรือทำการวิจัยและมีผลงานวิจัย
เป็นที่ยอมรับ โดยต้องมีประสบการณ์การทำงานไม่ต่ำกว่า 3 ปี
2) มีหนังสือรับรองว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะศึกษาในระดับดุษฎีบัณฑิต จากอาจารย์ที่เคยสอนในระดับบัณฑิตหรือ
มหาบัณฑิต หรืออาจารย์ที่ปรึกษา หรือผู้บังคับบัญชา จำนวนไม่น้อยกว่า 2 คน
3) สามารถอุทิศเวลาให้กับการศึกษาค้นคว้าได้เต็มเวลาจนสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
แบบ 2 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยมีการทำดุษฎีนิพนธ์ที่มีคุณภาพสูงและก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการ
และวิชาชีพและศึกษางานรายวิชาเพิ่มเติม
แบบ 2.1
1) รับสมัครจากผู้ที่เคยมีประสบการณ์ทำงานแล้วและมีใบรับรองการทำงานอย่างน้อย 3 ปี
2) มีหนังสือรับรองว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะศึกษาในระดับดุษฎีบัณฑิต จากอาจารย์ที่เคยสอนในระดับบัณฑิต
หรือ มหาบัณฑิต หรืออาจารย์ที่ปรึกษา หรือผู้บังคับบัญชา จำนวนไม่น้อยกว่า 2 คน
3) สามารถอุทิศเวลาให้กับการศึกษาค้นคว้าได้เต็มเวลาจนสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
กรณีผู้มีคุณสมบัติแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ข้างต้นอาจมีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษาได้ทั้งนี้ ต้องได้รับความเห็น
ชอบ จากผู้อำนวยการหลักสูตร
1. พิจารณาจากผลการศึกษาระดับปริญญาตรี และปริญญาโท หนังสือรับรองประสบการณ์หรือการทำงาน
2. พิจารณาจากผลการสอบสัมภาษณ์
1. ระบบการศึกษาใช้ระบบทวิภาค (Semester) โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการ
ศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ สำหรับภาคการศึกษาฤดูร้อน มหาวิทยาลัย ฯ จะกำหนดระยะ
เวลาและจำนวนหน่วยกิต โดยมีสัดส่วนเทียบเคียงกันได้กับการศึกษาภาคปกติ
2. การคิดหน่วยกิต
1) รายวิชาภาคทฤษฎี ที่ใช้เวลาบรรยายหรืออภิปรายปัญหาไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่า
เท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค
2) รายวิชาภาคปฏิบัติ ที่ใช้เวลาฝึกหรือทดลองไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วย
กิตระบบทวิภาค
3) การฝึกงานหรือการฝึกภาคสนาม ที่ใช้เวลาฝึกไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1
หน่วยกิตระบบทวิภาค
4) การทำโครงงานหรือกิจกรรมการเรียนอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมายที่ใช้เวลาทำโครงงานหรือกิจกรรมนั้นไม่น้อยกว่า
45 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ 1หน่วยกิต ระบบทวิภาค
5) การค้นคว้าอิสระที่ใช้เวลาการศึกษาค้นคว้าไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
ระบบทวิภาค
6) ดุษฎีนิพนธ์ ที่ใช้เวลาการศึกษาค้นคว้าไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
ระบบทวิภาค
ใช้เวลาในการศึกษาไม่เกิน 6 ปีการศึกษา นับแต่วันขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา