หน่วยงาน / ศูนย์ / สำนัก

สำนักวิจัย

บริบทสำนักวิจัย

สำนักวิจัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ก่อตั้งขึ้นในปี 2550 เป็นส่วนงานที่ทำหน้าที่หลัก ด้านการวิจัย เพื่อตอบสนองนโยบายด้านการผลิตนวัตกรรม และการสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยวิธี การวิจัย ให้สอดรับกับวิสัยทัศน์ของสถาบัน และมุ่งที่จะเป็นศูนย์กลางด้านวิชาการด้านการวิจัย ด้วยคุณภาพงานวิจัยที่มีมาตรฐานและเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้สู่สังคมและประเทศชาติ

สำนักวิจัย ดำเนินนโยบายภายใต้รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย โดยแบ่งส่วนงานออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายบริหารและวิชาการตั้งอยู่ที่ชั้น 2 อาคารบัณฑิตวิทยาลัย  และฝ่ายสารสนเทศและประสานงานมีสำนักงานตั้งอยู่ที่ชั้น 3 อาคาร C  ASEAN  มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี เลขที่ 16/10 หมู่ 2 ถนนเลียบคลองทวีวัฒนา แขวงทวีวัฒนา  เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10170

ปรัชญา

แหล่งการเรียนรู้ วิจัยสู่ชุมชน เลิศล้ำภาษา บริการสู่สากล

พันธกิจ (Mission)  

1.             มุ่งสร้างงานวิจัยและองค์ความรู้ใหม่

2.             เป็นแหล่งการเรียนรู้และบริการวิชาการ

3.             มุ่งบริการและพัฒนาความรู้ด้านภาษา
 

วัตถุประสงค์

1.             มีบทความวิจัยได้รับการเผยแพร่

2.             มีคณาจารย์และนักวิจัยของสถาบันทำวิจัย โดยนำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม

3.             มีการบริการวิชาการแก่ชุมชนในสังคม

4.             มีการบริการแก่ผู้ใช้ด้วยจิตสำนึกที่ดี

5.             บริการความรู้ด้านภาษาให้แก่นักศึกษา คณาจารย์และบุคคลทั่วไป

6.             พัฒนาทักษะทางด้านภาษาให้แก่นักศึกษา คณาจารย์และบุคคลทั่วไป

7.             กลุ่มงานวิจัยและบริการวิชาการ มีการจัดการที่มีประสิทธิภาพ มีโครงสร้างการบริหารชัดเจน มีความยืดหยุ่น คล่องตัว โปร่งใส เอื้อต่อการดำเนินงานที่รวดเร็ว บุคลากรมีส่วนร่วมในการบริหาร

เป้าประสงค์ 

1.             มีระบบและกลไกสนับสนุนการวิจัย

2.             มีระเบียบข้อบังคับ ว่าด้วยงบประมาณทุนอุดหนุนการวิจัยภายใน

3.             มีระเบียบข้อบังคับ ว่าด้วยการจ่ายเงินสมนาคุณ การเผยแพร่งานวิจัย

4.             มีระเบียบว่าด้วย การเผยแพร่ผลงานวิจัย

5.             มีฐานข้อมูลผลงานวิจัย

6.             มีบทความวิจัยที่ได้รับการอ้างอิง

7.             มีระเบียบว่าด้วยการส่งเสริม การสร้างเครือข่ายการวิจัย

8.             มีระเบียบข้อบังคับการจดสิทธิบัตรและการคุ้มครองสิทธิงานวิจัย

9.             มีคณาจารย์และนักวิจัยของสถาบันทำวิจัย โดยนำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม

10.          การสื่อสารภายในสำนักวิจัยมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

11.          สำนักวิจัยมีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ มีโครงสร้างการบริหารชัดเจน มีความยืดหยุ่น คล่องตัว โปร่งใส เอื้อต่อการดำเนินงานที่รวดเร็ว และบุคลากรมีส่วนร่วมในการบริหาร

12.          มีการดำเนินงานร่วมกับคณะ/สำนักต่างๆ ทั้งในและนอกสถาบัน

13.          มีคู่มือการประกันคุณภาพของสำนักวิจัย

14.          เป็นแหล่งการเรียนรู้

15.          มี KM เป็นเครื่องมือในการพัฒนางานของสำนัก

นโยบายสำนักวจัย

1.             พัฒนาระบบและกลไกการบริหารและการดำเนินงาน เพื่อสนับสนุนการผลิตงานวิจัย ให้มีประสิทธิภาพ

2.             สร้างระบบบริหารจัดการความรู้จากงานวิจัยและงานสร้างสรรค์

3.             สร้างระบบฐานข้อมูล และสารสนเทศการวิจัยที่มีประสิทธิภาพ

4.             ผลิตและพัฒนานักวิจัยที่มีคุณภาพ คุณธรรมและจริยธรรมเพื่อสร้างนวัตกรรมการวิจัย

5.             สร้างความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกสถาบัน เพื่อส่งเสริมงานวิจัยทั้งทางตรงและทางอ้อม

6.             เพิ่มผลงานวิจัยที่มีคุณภาพมาตรฐานสอดคล้องกับการเรียนการสอนของสถาบัน และการพัฒนาประเทศสามารถเผยแพร่ ตีพิมพ์และนำไปใช้ประโยชน์ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติได้