คณะรัฐศาสตร์

ปริญญาตรี หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์


ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1.1 ปรัชญาและความสำคัญ

โลกเปลี่ยนไปสู่ยุคโลกาภิวัตน์ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง        การปกครอง เทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารจัดการในภาครัฐ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก การปฏิรูประบบราชการ  มีการตรากฎหมายระเบียบการบริหารจัดการในภาครัฐ และการประกาศใช้แผนพัฒนาระบบราชการ  ซึ่งให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการที่ดี (Good Governance) ประกอบกับการปรับบทบาทของภาครัฐและ              การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่นทำให้มีความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ มีวิสัยทัศน์ ในการบริหารจัดการในภาครัฐและพัฒนาองค์การอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด

มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี  ให้ความสำคัญกับการปฏิรูประบบราชการ  การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น  ตลอดจนการพัฒนาระบบ ให้เป็นเชิงบูรณาการ  สอดคล้องกับความต้องการของสังคมและประเทศชาติ   จึงขอเปิดหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างสมรรถนะ (Competency) และขีดความสามารถ (Capability) การพัฒนาตนเองของนักบริหารให้มีความรู้ ทักษะ ความสามารถในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Leader) และผู้บริหารการเปลี่ยนแปลง (Chief Change Officer) เพื่อสร้างความเป็นเลิศในการทำงาน ให้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก ด้วยการพัฒนาให้เป็นผู้มีความสามารถคิดในเชิงยุทธศาสตร์ ตรงกับความต้องการของสังคมและประเทศชาติ  

1.2 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้   ความสามารถ มีทักษะและสมรรถนะ ด้านการบริหารจัดการภาครัฐทั้งด้านทฤษฏีและการนำทฤษฏีไปประยุกต์ใช้ โดยมุ่งให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการที่ดี

(Good Governance) เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ

2. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีจริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพ มีกระบวนทัศน์ที่มุ่งพัฒนายึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีศักยภาพในการพัฒนาตนเองต่อเนื่อง ก้าวทันพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นต้นแบบหรือตัวอย่างแก่เพื่อนร่วมงานและผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา  ตลอดจนสามารถถ่ายทอดทักษะความรู้และประสบการณ์แก่ผู้เกี่ยวข้องได้

3. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความสามารถในการศึกษา  วิเคราะห์  วิจัย ตลอดจนการนำผลศึกษามาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม

 

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

(1) ข้าราชการสังกัด ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น

(2) พนักงานรัฐวิสาหกิ

(3) นักการเมือง และ  นักการเมืองท้องถิ่น

(4) ทหาร ตำรวจ 

(5) นายอำเภอ ปลัดอำเภอ

(6) เจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์และฝึกอบรม

(7) ผู้บริหารโครงการ

(8) นักวิเคราะห์นโยบายและวางแผน

(9) เจ้าหน้าที่สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

(10) เจ้าหน้าที่ฝ่ายวางแผนและพัฒนา