คณะรัฐศาสตร์

ข่าวประชาสัมพันธ์ News

โครงการการลดความขัดแย้งทางการเมืองการปกครอง โดย ดร.วิโชติ ภิญโญ

− Oct 07,2016 −

ปัจจุบันความขัดแย้งสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เมื่อใดที่มนุษย์ต้องอยู่ร่วมกันและมีการปฏิสัมพันธ์ที่ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน มีการทำงานเป็นกลุ่มสมาชิกที่มีความแตกต่างกัน การบริหารความขัดแย้งเป็นวิธีที่สามารถทำให้เกิดผลไปในเชิงบวกอย่างสร้างสรรค์และส่งผลทำให้เกิดความถูกต้องดีงาม  และจากสถานการณ์การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นก็ทำให้เกิดความขัดแย้งระดับชุมชนเกิดขึ้นได้  ดังนั้นการขับเคลื่อนพลังของคนชนบทเพื่อต่อสู้ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง โดยมีแกนนำในการประท้วงเป็นคนขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่มีการแบ่งสีประท้วงที่ผ่านมา ทำให้เกิดความขัดแย้งในสังคมไทยกำลังเผชิญความขัดแย้งที่มีความรุนแรงที่มากขึ้นจากการแย่งชิงอำนาจ และความขัดแย้งของผลประโยชน์ อิทธิพลของนักการเมือง การทุจริต คอรัปชั่น เป็นต้น การลดความขัดแย้งทางการเมืองการปกครองในมุมมองของรัฐประศาสนศาสตร์ ซึ่งการใช้บทบาทของผู้นำชุมชนท้องถิ่นที่มีหน้าที่เป็นหัวหน้าในการปกครองชุมชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดี และมีบทบาทที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์ความขัดแย้งของท้องถิ่นอย่างใกล้ชิด สามารถจัดการความขัดแย้งได้ด้วยการเจรจาไกล่เกลี่ยเชิงสมานฉันท์ กระบวนการการรับฟังด้วยใจที่ไร้อคติ ซึ่งการที่แกนนำของคู่ขัดแย้งต้องเข้าใจในการเจรจาอย่างสันติวิธี และการยอมรับกฎ กติกา ในการอยู่ร่วมกัน ซึ่งการที่การลดความขัดแย้งทางการเมืองการปกครองในมุมมองของรัฐประศาสนศาสตร์ต้องมีเป้าหมายที่เป็นผลประโยชน์ของประเทศชาติร่วมกัน โดยการรวมพลังของชุมชนชาวชนบทในการขับเคลื่อนเพื่อการเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองไทย ซึ่งการถอดบทเรียนกระบวนการแก้ไขความขัดแย้งทางการเมืองโดยการหาทางป้องกันความขัดแย้งในอนาคต  การร่วมมือกับกระทรวงยุติธรรม และกระบวนการยุติธรรมในชุมชน

                                 ดังนั้นการลดความขัดแย้งทางการเมืองการปกครองโดยการที่ทุกฝ่ายจะต้องมีการหลีกเลี่ยงการปะทะกัน และการปรองดองเป็นการสร้างความพึงพอใจของทุกฝ่ายในการหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง โดยการประนีประนอมที่ต่างฝ่ายจะต้องเสียสละ ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทางคณะรัฐศาสตร์ จึงขออนุมัติจัดให้มีการทำโครงการการลดความขัดแย้งทางการเมืองการปกครองในมุมมองของ  รัฐประศาสนศาสตร์ ขึ้นเพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างการลดความขัดแย้งทางการเมืองการปกครองสำหรับการขับเคลื่อนสังคมและองค์การไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายอย่างมั่นคงและอย่างยั่งยืนต่อไป

วัตถุประสงค์

                1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เกี่ยวกับการลดความขัดแย้งทางการเมืองการปกครองในมุมมองของรัฐประศาสนศาสตร์

                2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้การลดความขัดแย้งทางการเมืองการปกครองในมุมมองของรัฐประศาสนศาสตร์และสามารถประยุกต์ใช้สำหรับการทำงานและชีวิตประจำวันได้

                3เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลดความขัดแย้งทางการเมืองการปกครองในมุมมองของรัฐประศาสนศาสตร์เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผน และการปรับปรุงการในลดความขัดแย้งทางการเมืองการปกครองในองค์การต่อไป

รูปข่าวประชาสัมพันธ์

Back