คณะวิศวกรรมศาสตร์

ปริญญาตรี หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมซ่อมบำรุงรักษาอากาศยาน

ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1. ปรัชญาและความสำคัญ

เพื่อผลิตบัณฑิตทางวิศวกรรมสาชาวิชาวิศวกรรมซ่อมบำรุงรักษาอากาศยานในระดับปริญญาตรี ที่มีคุณธรรมและจริยธรรมมีความสามารถในการทำงาน วิจัย พัฒนา และควบคุม ในสาขาวิชาวิศวกรรมซ่อมบำรุงรักษาอากาศยานอย่างมีประสิทธิภาพ

หลักสูตรสามารถตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (2561-2580) ที่ส่งเสริมการลงทุนที่เน้นการวิจัยและ พัฒนาและการถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาอุตสาหกรรมการบินและอวกาศเพื่อรองรับการเติบโต ของอุตสาหกรรมและบริการที่เกี่ยวข้องโดยยกระดับบริการซ่อมบํารุงอากาศยาน และการผลิตชิ้นส่วน อากาศยาน ซึ่งจะต่อยอดไปยังชิ้นส่วนยานอวกาศในที่สุด และสนับสนุนการลงทุนด้านบริการดูแลรักษา และซ่อมแซมอากาศยานเพื่อขยายตลาดบริการดูแลรักษาและซ่อมแซมอากาศยาน ตลอดจนพัฒนา เทคโนโลยีสําหรับการบินและอวกาศ การส่งเสริมและพัฒนาการขนส่งรูปแบบใหม่ที่สอดคล้องกับบริบท ของไทยในอนาคต พร้อมทั้งการผลิตและพัฒนาบุคลากรที่มีทักษะความเชี่ยวชาญตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ

 2 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

                        1. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และทักษะทางวิศวกรรมที่เพียงพอ มีความสามารถประกอบอาชีพเป็นวิศวกรซ่อมบำรุงรักษาอากาศยานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                        2. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการตรวจสอบ ระบุปัญหา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัญหาทางวิศวกรรมและสามารถประยุคต์ใช้ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ พื้นฐานทางด้านวิศวกรรม และความรู้เฉพาะทางวิศวกรรม เพื่อออกแบบ แก้ไขปัญหาทางวิศวกรรมที่ซับซ้อนได้

3. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการทำงานด้วยตนเองและร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะสมาชิกหรือผู้นำ ในกลุ่มที่มีความหลากหลายของสหสาขาวิชาและสามารถติดต่อสื่อสารโดยใช้ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศและศัพท์เทคนิคต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมและทันสมัยได้เป็นอย่างดี

                        4. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความเข้าใจและรับผิดชอบต่อการปฏิบัติงานด้านวิชาชีพวิศวกรรมต่อบริบททางสังคม สุขภาพ ความปลอดภัย กฎหมาย และวัฒนธรรม และมีความรับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดจากการทำงานที่มีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยยึดมั่นในหลักจริยธรรมและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ

                       5. เพื่อผลิตบัณฑิตที่ตระหนักถึงความจำเป็น เตรียมพร้อมและมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองตลอดชีพ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

3. หลักสูตร

3.1 จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร                                                        150            หน่วยกิต

3.2 โครงสร้างหลักสูตร

1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป                                                                           30           หน่วยกิต

1.1 กลุ่มวิชาภาษา                                                                                      12

1.2 กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์                                                                              6

1.3 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์                                                                               6

1.4 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์                                                          6             

2. หมวดวิชาเฉพาะ                                                                                 114         หน่วยกิต

2.1 วิชาเฉพาะพื้นฐาน                                                                      42

       2.1.1 กลุ่มวิชาพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์                     21

       2.1.2 กลุ่มวิชาพื้นฐานทางวิศวกรรมและวิชาชีพ                               21

2.2 วิชาเฉพาะด้าน                                                                         72

       2.2.1 กลุ่มวิชาบังคับทางวิศวกรรม                                              66

                   2.2.2 กลุ่มวิชาเลือกบังคับทางวิศวกรรม                                         6

3. หมวดวิชาเลือกเสรี                                                                                      6             หน่วยกิต